Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

เปิดผลงานวิจัยต่างชาติ ชี้ "บุหรี่ไฟฟ้า" ช่วยลดอันตรายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่จริง

1 Posts
1 Users
0 Likes
484 Views
thanunchai
(@thanunchai)
Posts: 2475
Noble Member
Topic starter
 

ผลวิจัย บุหรี่ไฟฟ้า โทษของบุหรี่ไฟฟ้า 2564

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเผยผลวิจัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ชี้การใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดการอักเสบของตัวชี้วัดในการก่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ แสดงถึงโอกาสในการลดอันตรายด้านสุขภาพจากสารพิษในบุหรี่ได้มากกว่า

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเผยผลวิจัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ชี้การใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดการอักเสบของตัวชี้วัดในการก่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ แสดงถึงโอกาสในการลดอันตรายด้านสุขภาพจากสารพิษในบุหรี่ได้มากกว่า พร้อมเรียกร้องให้ประเทศไทยทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้า หลังล้มเหลวในการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST) เปิดเผยว่า ผลวิจัยล่าสุดจากสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่ในวารสารสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อตัวชี้วัดในการเกิดโรคของร่างกายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ ซึ่งหมายความว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดความเสี่ยงได้ ตรงข้ามกับแพทย์บางกลุ่มในประเทศไทยที่พยามยามประโคมข่าวอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อสร้างความกลัวให้กับประชาชน ทั้งที่บุหรี่ไฟฟ้ามีศักยภาพในการลดโรคจากการสูบบุหรี่

การศึกษาผลกระทบของยาสูบต่อสุขภาพจัดทำโดย ดร.ชัค ไดเนอรสไตน์ ศัลยแพทย์ชาวอเมริกันและ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพ สหรัฐอเมริกา (American Council on Science and Health) ซึ่งทำการศึกษาโดยใช้ฐานข้อมูลจากการประเมินประชากรของยาสูบและสุขภาพ (PATH) ที่เริ่มต้นในปี 2013 งานวิจัยดังกล่าวได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 4 แบบ ได้แก่ กลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่ กลุ่มผู้สูบบุหรี่แบบมวน กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว และกลุ่มผู้ใช้ทั้งบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า และประเมินดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ ( Biomarkers) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนถึงผลกระทบของสารพิษในควันบุหรี่ต่อร่างกาย และ ภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (oxidative stress)

ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวมีค่าการอักเสบของตัวชี้วัดต่ำกว่ากลุ่มผู้สูบบุหรี่อย่างมาก และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ในขณะที่กลุ่มผู้ที่ใช้ทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและสูบบุหรี่ด้วย (Dual users) จะพบค่าตัวชี้วัดที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ดังนั้น การที่ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่เปลี่ยนสลับหรือกลับไปสูบบุหรี่อีก หรือเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่าง จะเป็นผลดีต่อสุขภาพมากกว่า

แต่ที่น่ากังวลคือ ประเทศไทยกลับปกปิดข้อมูลเหล่านี้ โดยนำข้อมูลที่เป็นลบของบุหรี่ไฟฟ้ามาเผยแพร่อย่างเดียวเพื่อทำให้ประชาชนหวาดกลัว มากกว่าจะให้ข้อมูลที่เป็นจริง ทำให้คนไทยรวมทั้งผู้กำหนดนโยบายไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า การปิดกั้นผู้สูบบุหรี่ไม่ให้มีโอกาสใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเท่ากับว่าผู้สูบบุหรี่กว่า 10 ล้านคนในประเทศไทยก็ยังคงต้องสูบบุหรี่และได้รับอันตรายจากบุหรี่ที่มีมากกว่าต่อไป

“ประเทศไทยประสบความล้มเหลวในการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ อัตราการสูบบุหรี่คงที่ที่ร้อยละ 19-20 มามากกว่า 10 ปีแล้ว ทั้งที่มีกฎหมายต่างๆ ออกมามากมายและมีเงินงบประมาณ สสส. สนับสนุนอีกกว่า 4 พันล้านบาทต่อปี แต่ก็ไม่สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ ตรงข้ามกับประเทศอื่นๆ ที่เปิดกว้างยอมรับบุหรี่ไฟฟ้าและควบคุมให้ถูกกฎหมาย โดยไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้ จนถึงปัจจุบันมีมากกว่า 66 ประเทศที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย สามารถเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นได้ถูกต้อง แต่ประเทศไทยกลับเป็นแหล่งซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมาย สร้างธุรกิจใต้ดินที่เติบโตปีละกว่า 100% ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของการแบนบุหรี่ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี” นายอาสา กล่าว

https://www.komchadluek.net/news/regional/459436

 
Posted : 25/02/2021 4:03 pm
Share: