เหรียญพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 2485
วัตถุประสงค์เบื้องต้นก็เพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในยามเกิดสงครามอินโดจีนเท่านั้น
แต่ปรากฏว่าหลังจากสงครามอินโดจีนสงบลง ได้เกิด ‘สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม’ ซึ่งทหารและประชาชนที่ได้บูชา ‘พระพุทธชินราชอินโดจีน’ ต่างมีประสบการณ์ปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ จนเป็นเรื่องเล่าขานกันมากมาย
ส่งผลให้ พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน
เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน
จำนวนเหรียญที่สร้าง
เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 3,000 เหรียญ
บล็อกที่ใช้พิมพ์
พิมพ์สระอะจุด (พิมพ์นิยม)
ด้านหลังเหรียญตรงอักษรไทยว่า "อกเลาวิหารพระ" คำว่า "พระ" นั้น สระอะจะเป็น "จุดกลม"
พิมพ์สระอะขีด
ด้านหลังเหรียญตรงอักษรไทยว่า "อกเลาวิหารพระ" คำว่า "พระ" นั้น สระอะจะเป็น "ขีด"
ลักษณะเหรียญ
เป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น
ด้านหลัง
เป็นรูป “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอักษรไทยว่า “อกเลาวิหารพระ พุทธชินราช”
จุดสังเกตเหรียญพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 2485 พิมพ์สระอะขีด (ด้านหน้า)
1. แม้จะไม่มีหูห่วงดั้งเดิมแบบ “แคปซูล” ให้เห็นก็ตาม แต่แนะนำให้ดูลักษณะของ “หูเหรียญ” ซึ่งถูกปั๊มออกมาตามบล็อกของแม่พิมพ์ มักจะมีรอยกด รอยนูน รอยปลิ้น รอยแบน ฯลฯ แม้แต่ขนาดความกว้างรอบวง "ขอบหูเหรียญ” ก็ชี้เป็นชี้ตายได้ เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด ยังไงๆ รูก็ต้องเล็กๆ ขอบก็จะหนาๆ แบบนี้
2. เส้นสายลายแทงในแถบของฐานเสมาตรงจุดนี้ จะมี “เอกลักษณ์” เป็นคลื่นๆ หยักๆ และไม่ราบเรียบเหมือนช่วงอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เป็น “จุดตาย” สำคัญหนึ่งอย่างเลย เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด
3. ขีดที่เห็นเป็น “รอยร่องเล็ก” ในแนวตั้ง มีให้เห็นไม่มากก็น้อย เพราะเกิดจากแม่พิมพ์ในบล็อกดั้งเดิมเองเช่นกัน อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลย ลักษณะเหมือนเหรียญฯ สระอะขีด
4. ปลายแหลมสุดที่อยู่ใน “ซุ้มโค้ง” เหนือหัวไหล่นี้ ปลายทั้งข้างจะ “แหลมเรียวสุดถึงยอดโดยไม่แตกเป็นแฉก” ทั้งสองข้าง มีลักษณะตรงกันข้ามกับในเหรีียญฯ สระอะขีด ซึ่งปลายแหลมนี้จะแตกแยกออกเป็นแฉกเหมือน “ลิ้นงู” อย่างเห็นได้ชัดเจน
จุดสังเกตเหรียญพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 2485 พิมพ์สระอะขีด (ด้านหลัง)
1. ร่องรอยของขีดแนวตั้งที่เกิดขึ้น จะมีให้เห็นมากหรือน้อย ก็ถือว่าเป็นตำหนิในพิมพ์แต่เดิมเช่นเดียวกันกับด้านหน้าของเหรียญนะ อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลยเช่นกัน
2. ลูกศรชี้ให้เห็นถึงที่มาของคำว่า “สระอะจุด” (อีกพิมพ์หนึ่งจะเป็น “สระอะขีด”) และนักสะสมนิยมเล่นเป็นพิมพ์สระอะจุดแบบนี้มากกว่า
3. ลักษณะของตัวอักษรจะไม่แตกซ้อนกัน และมีความคมชัดลึกมากกว่าในเหรียญฯ สระอะขีด อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก รวมถึงลักษณะของ “ตัวยันต์” ก็ดูเหมือนกัน
4. โปรดกรุณาพิจารณาเรื่องของ "ขอบหูเหรียญ” ให้แม่นๆ เพราะสามารถชี้เป็นชี้ตายได้จริงๆ
5. ลักษณะของปลายล่างส่วนของ “อกเลา” ตรงจุดนี้ จะมีลักษณะที่แหลมและไม่แตกปลายเลย อันตรงข้ามกับเหรียญฯ สระอะขีด ซึ่งแตกเป็นแฉก และเหลื่อมให้เห็นกันอย่างชัดเจน
ส่วนราคานั้นแบบ “สระอะจุด” นิยมกว่าและมีราคาแพงกว่า “สระอะขีด"
พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นับเป็นพระยอดนิยมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน อาจสืบเนื่องจากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ
1. เจตนาการสร้างที่ต้องการให้ทหารและประชาชนได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงคราม เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและปกป้องภยันตราย ส
2. เป็นการจำลองรูปแบบ “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองพิษณุโลก ที่มีความงดงาม ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน
3. ด้วยพิธีกรรมที่ถือว่ายิ่งใหญ่อลังการมากในสมัยนั้น เป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมสมัยจำนวนมากเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต
4. พุทธคุณและพุทธานุภาพเป็นเลิศเป็นที่ประจักษ์ ดังบทกวีที่ว่า
.
พุทธชินราชเสริกไสร้ ปฏิมา
งามเงื่อนตามสมญา ยิ่งแท้
พุทธคุณกว่าใคร กำหนด พระเอย
คุ้มใจคุ้มภัยแน่ ศึกสิ้น อินโดจีน
การจัดสร้าง พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นั้น ทางคณะกรรมการ “พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย” เป็นผู้ริเริ่ม โดยจำลองรูปแบบจาก พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พระพุทธรูปปางชนะมาร ที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก โดยมี ท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ
โดยจัดสร้างเป็น 2 แบบ คือ แบบพระบูชา และ แบบพระเครื่อง
แบบพระบูชา
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปขัดเงา จำลององค์พระพุทธชินราช ขนาดพระบูชา สำหรับสักการบูชาในเคหสถาน จัดสร้างตามจำนวนการสั่งจอง ด้วยการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมส่งเงินไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง
แบบพระเครื่อง
มีการสร้างเป็น 2 ประเภท คือ
- วิธีหล่อ ที่เรียก “พระพุทธชินราชอินโดจีน”
- วิธีการปั๊ม หรือ “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน”
พระพุทธชินราชอินโดจีน
เป็นพระหล่อเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก จัดสร้างจำนวนมาก แต่คัดสภาพสมบูรณ์เหลือเพียง 84,000 องค์ ลักษณะจะคล้ายพระยอดธง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ใต้ฐาน ปั๊ม “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และ “ธรรมจักร”
เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน
สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 3,000 เหรียญ
ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ด้านหลัง เป็นรูป “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอักษรไทยว่า “อกเลาวิหารพระ พุทธชินราช”
พิธีเททองหล่อ
โดยได้ประกอบพิธีเททองหล่อตาม ‘ตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์’ ของวัดสุทัศน์อย่างสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485
พิธีพุทธาภิเษก
จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่21 มีนาคม พ.ศ.2485 โดยมี ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน
ทั้งได้รับเมตตาจากพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นรวมแล้ว 108 รูป ร่วมมอบแผ่นยันต์ และเดินทางเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก มีอาทิ
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์
- สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดบวรนิเวศฯ
- หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
- หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
- หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
- หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
- หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
- หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
- หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
- หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
- หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
- หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง ฯลฯ
เรียกได้ว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยทีเดียว
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เบื้องต้นก็เพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในยามเกิดสงครามอินโดจีนเท่านั้น
แต่ปรากฏว่าหลังจากสงครามอินโดจีนสงบลง ได้เกิด ‘สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม’ ซึ่งทหารและประชาชนที่ได้บูชา ‘พระพุทธชินราชอินโดจีน’ ต่างมีประสบการณ์ปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ จนเป็นเรื่องเล่าขานกันมากมาย
ส่งผลให้ พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน
การทำเทียมเลียนแบบจึงเกิดขึ้นตามมามากมาย ประการสำคัญคือ ฝีมือการปลอมทำได้ใกล้เคียงกับของแท้มากด้วย บางองค์เป็นพระแท้แต่โค้ดปลอมก็มี เพื่อเพิ่มค่านิยม และบางองค์ปลอมทั้งพระ ปลอมทั้งโค้ดก็มี
ดังนั้น การจะเช่าหาถ้าไม่แน่จริงหรือยังไม่แน่ใจ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจโดยลำพังทีเดียว ควรหากูรูที่ไว้ใจได้ หรือขอหลักประกันจากผู้ขายว่าถ้าพระไม่แท้ต้องรับคืนเงิน ก็ยังพอทำเนาอยู่
พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 นั้น แบ่งออกได้หลายพิมพ์ แต่ที่เป็น “พิมพ์นิยม” คือ “พิมพ์สังฆาฏิยาว หน้านาง นิยม A”
ซึ่งมีจุดพิจารณาตำหนิแม่พิมพ์ดังนี้
1. เส้นคู่ขนานจะพบที่เส้นรองซุ้มเรือนแก้วด้านบนขวาขององค์พระ
2. มีเนื้อเกินที่นูนขึ้นมาเป็น "ตุ่ม" เล็กๆ ตรงจุดนี้
3. อุณาโลมใหญ่และรูปร่างคล้ายๆ ปลายเนคไท
4. พระกรรณทั้งสองข้างจะมีขีดขวาง ขีดข้างซ้ายยาวกว่าข้างขวาเล็กน้อย
5. พระนาสิกเป็นก้อนๆ เหมือนเนื้อโลหะเกาะรวมตัวกันอยู่
6. มีติ่งเล็กๆ เป็นเนื้อเกิน ที่หัวพระเนตรข้างซ้ายขององค์พระ
7. นิ้วพระหัตถ์ข้างขวาองค์พระคล้ายมี 3 นิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นิ้วโป้งแยกออก แต่มีรอยแตกระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง
8. มีเส้นน้ำตกเป็นแนวตั้งเล็กๆ ต่อระหว่างพระชงฆ์ข้างขวาองค์พระกับกลางฝ่าพระบาทข้างซ้ายองค์พระ
9. มีเส้นแตกวิ่งเป็นแนวเกือบขนานกับฐานเขียง บางองค์อาจไม่พบเพราะได้รับการตกแต่งแล้ว
10. มีเนื้อเกินระหว่างซอกกลีบบัว ตรงจุดนี้พบแทบทุกองค์
ส่วน “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485” มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สระอะจุด และ พิมพ์สระอะขีด ซึ่ง “พิมพ์สระอะจุด” เป็นพิมพ์นิยม นอกเหนือจากหลักการพิจารณาเหรียญเก่าแล้ว มีวิธีพิจารณาง่ายๆ ของพิมพ์นิยม ก็คือ ด้านหลังเหรียญตรงอักษรไทยว่า "อกเลาวิหารพระ" คำว่า "พระ" นั้น สระอะจะเป็น "จุดกลม"
#เหรียญชินราชอินโดจีน 2485
#ราคาพระพุทธชินราชอินโดจีน 2485
#พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 มีกี่พิมพ์
#เหรียญชินราช อิน โด จีน ปลอม
#เหรียญพระพุทธชินราช ราคาแพงที่สุด
#พระพุทธชินราช 2485 เนื้อผง ประวัติ
#พุทธชินราชอินโดจีน ปลอม
#พระพุทธชินราชอินโดจีน พุทธคุณ
ข้อมูลอ้างอิง
https:// siamrath.co.th/n/2772